หนูนอรเว (Norway rat)

หนูนอรเว

(Norway rat, brown rat, habour rat, sewer rat, Rattus norvegicus (Berkenhout, 1769))

เปนหนูที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในสกุลนี้ มีน้ำหนักตัวประมาณ 200-500 กรัม กินอาหารได้ทุกประเภท หากมีอาหารสมบูรณ์จะทำให้หนูชนิดนี้มีขนาดลำตัวใกล้เคียงหนูพุก หนูชนิดนี้ชอบอาศัยใกล้แหล่งน้ำ และ มีชื่อเรียกขานหลายชื่อตามแหล่งที่อยู่อาศัยหรือแหล่งที่ออกหากิน เช่น หนูท่อ หนูขยะ หนูท่าเรือ และหนูเลา เปนต้น ปกติชอบขุดรูอาศัยในดินใกล้กองขยะ ใต้ถุนบ้าน หรือสนามบ้าน ที่ปากรูมีขุยดินกองใหญ่คล้ายของ หนูนา หรือพบอาศัยในท่อระบายน้ำในแหล่งชุมชน ตามตลาด มีความยาวหัวรวมลำตัวประมาณ 233 มิลลิเมตร หางสั้นกว่าความยาวหัวรวมลำตัว ยาว 201 มิลลิเมตร และมี 2 สี ด้านบนสีเข้มกว่าด้านล่าง หน้า จะปานหรือทู่กว่าหนูท้องขาวบ้าน มีตาและใบหูเล็กกว่าเช่นกัน ขนด้านท้องสีเทา ด้านหลังขนสีน้ำตาลหรือสีดำ ตีนหลังใหญ่ขนาด 44 มิลลิเมตร และมีขนขาวตลอด เพศเมียมีเต้านม 3 คู่ ที่อกและ 3 คู่ ที่ท้อง พบทั่วประเทศ ในเขตเทศบาลเมืองทุกแห่ง อาจพบในพื้นที่ทำการเกษตรที่ติดต่อกับเขตชุมชนใหญ่ ๆ เปนพาหะนำโรคที่สำคัญ หลายชนิดสู่มนุษย์และสัตว์เลี้ยง พฤติกรรมการอยู่รวมกันเปนกลุ่มใหญ่ของหนูนอรเว เปนแบบ pecking order โดยหนูเพศผู้ที่มี ขนาดใหญ่และแข็งแรงเปนจ่าฝูง จึงเลือกที่อยู่และกินอาหารที่ดีที่สุดได้ก่อน และกำหนดเขตถิ่นอยู่อาศัยโดย ใช้ปสสาวะและไขมันจากขน ในแต่ละกลุ่ม จะมีหนูเพศเมียมากกว่า 1 ตัว ลูกหนู และอาจมีหนูเพศผู้ตัวอื่น ๆ ที่อ่อนแอกว่า เปนหนูที่มีนิสัยดุร้ายและก้าวร้าวโดยเฉพาะเวลาที่แย่งถิ่นอาศัย อาหาร และหนูเพศเมีย ปกติแล้วหนูที่โตเต็มที่จะกินอาหาร 20-30 กรัมต่อคืน (ประมาณร้อยละ 10 ของน้ำหนักตัว) และสามารถ เดินทางในแต่ละคืนเปนระยะทางไกล 2-3 กิโลเมตร เพื่อหาอาหาร

Visitors: 439,551